ประวัติวัด


มูลเหตุการสร้างวัด

            ก่อนปี พ.. ๒๔๕๓  ท้องที่ในแขวงบางบอนใต้ ( ชื่อเรียกในสมัยนั้น ) ไม่มีวัดมีแต่ชาวบ้านที่นับถือศาสนาพุทธศาสนา  อาศัยตั้งบ้านเรือนอยู่กันเป็นชุมชนแล้ว  แม้จะยังไม่หนาแน่นนัก  เนื่องจากวัดเป็นศูนย์กลางของสังคมไทย ที่นับถือพระพุทธศาสนา
มาตั้งแต่อดีต  เป็นเหตุให้ชาวบางบอนใต้ประสบปัญหามาก  เมื่อจะบำเพ็ญกุศลที่เกี่ยวข้องกับพระภิกษุสงฆ์  ทั้งในยมปกติและยามเทศกาล  เป็นเหตุให้ชาวบางบอนใต้
ประสงค์ให้มีวัดของพวกตน


  ผู้สร้างวัดบางบอน หรือ  ( วัดใหม่ตาเฉยบางบอนใต้ )

            ขณะนั้น  ชาวบางบอนใต้  นำโดย  ปู่เฉย  ย่ากัน  เปียธัญญา  พร้อมด้วยเพื่อนบ้าน

ได้ขวนขวาย  ชักชวนกันสร้างเป็นเพิงไม้ปูพื้นด้วยไม้กระดานไว้ ณ ที่ตั้งวัดบางบอนนี้  ซึ่งเดิมเป็นที่อยู่ของตน  แต่ได้ย้ายไปอยู่ฝั่งตรงข้ามกับที่ตั้งวัดบางบอนปัจจุบัน ถึงเวลาราชการ เช่น ตรุษสงกรานต์  เป็นต้น ปู่เฉยก็จะไปนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ จากวัดอัปสรสวรรค์ ( วัดหมู ) . ภาษีเจริญ จ. ธนบุรี ซึ่งมีพระภิกษุเจริญ อุปติสโส เป็นหัวหน้าไปร่วมพิธี เพื่อให้ชาวบางบอนใต้ร่วมกันบำเพ็ญกุศล เป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญโดยทั่วกัน กิจกรรมดังกล่าวนี้ได้ดำเนินไปประมาณ ๒ ๓ ปี
            ปี พ.. ๒๔๕๓  ปู่เฉย ย่ากัน เปียปัญญา ได้บริจาคที่ดิน ซึ่งเคยเป็นที่ตั้งบ้านเรือนเดิมของตน ( ที่ตั้งวัดบางบอนในปัจจุบัน ) มีเนื้อที่ประมาณ  ๓  ไร่เศษให้สร้างเป็นวัดอุทิศไว้ในพระพุทธศาสนา พร้อมได้ถวายเรือนอีก ๒ หลัง ให้รื้อไปสร้างเป็นกุฏิที่พำนักสงฆ์ โดยได้นิมนต์ พระสมุห์เจริญ  อุปติสโส จากวัดอัปสรสวรรค์ ( วัดหมู ) เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง และได้ตั้งชื่อสำนักสงฆ์นี้ว่า “  วัดใหม่ตาเฉยบางบอนใต้
                เมื่อสร้างวัดใหม่ตาเฉยบางบอนใต้  นายบุญ  ชาวบางบอนใต้นี้ อยู่ในวัยชรามากแล้ว ได้มีศัทธาปสาทะ อุปสมบทเป็นพระภิกษุ และธรรมุเทศาจารย์ เจ้าคณะแขวงล่าง อำเภอบางขุนเทียน ในสมัยนั้น ได้แต่งตั้งพระภิกษุบุญ ( ไม่ทราบฉายา ) ให้เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาส ขณะเดียวกัน ปู้เฉย  ย่ากัน  เปียธัญญา ได้สร้างอุโบสถเป็นอาคารไม้ถวาย อยู่กันคนละฝั่งลำกระโดงสาธารณประโยชน์ตรงข้ามกับอุโบสถหลังเก่า ด้านทิศตะวันออก แต่เมื่อพระภิกษุบุญ เป็นเจ้าอาวาสได้ไม่กี่พรรษาก็มรณภาพ
            ต่อมาเจ้าคณะแขวงล่าง ได้ตั้งให้พระภิกษุพุ่ม ( ไม่ทราบฉายา และนามสกุล ) ซึ่งเป็นชาวบางบอนใต้ อุปสมบทเมื่อวัยชราแล้ว เป็นเจ้าอาวาส ระยะนี้ทางวัด มีกุฏิ สำหรับเป็นที่พำนักพระภิกษุและสามเณรประมาณ ๕ หลัง ช่วงที่พระภิกษุพุ่มชรามากนั้น พระภิกษุศิริ สิริปญโญ  ได้ย้ายจากวัดแถวมหาชัย มาอยู่ที่วัดใหม่ตาเฉย จึงเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาวัด




การสร้างอุโบสถหลังใหม่ พ.. ๒๔๕๙

พระภิกษุศิริ  สิริปญโญ  ได้ดำริสร้างอุโบสถหลังใหม่ให้ถาวรแทนอุโบสถหลังแรกที่ปู่เฉยได้สร้างไว้จึงได้ปรึกษากับหลวงโลกบาล ซึ่งเป็นนายอำเภอในสมัยนั้น หลวงโลกบาลได้ไปตรวจสอบสถานที่สร้างอุโบสถหลังใหม่แทนอุโบสถอาคารไม้ ซึ่งตั้งอยู่ตรงกันข้ามกับอุโบสถหลังเก่าในปัจจุบันทางทิศตะวันออกมีลำกระโดงสาธารณประโยชน์คั่นอยู่กลาง แต่มีปัญหาเรื่องที่ดิน เพราะเป็นที่ดิน ของนายมี  นางกลีบ  นิลอ่อน หลวงโลกบาลจึงให้ทางวัด สร้างอุโบสถหลังใหม่นี้ในที่ดินของวัดตรงที่สร้างอุโบสถหลังเก่าปัจจุบันนี้
            ปี พ.. ๒๔๕๙ หลวงโลกบาล ได้เป็นเจ้าภาพดำเนินการก่อสร้างอุโบสถถาวรหลังใหม่ให้วัดใหม่ตาเฉยบางบอนใต้โดยลำพัง และได้สร้างพระพุทธปฏิมาประธานซึ่งมีพระนามว่า
พระบรมศรีสุคต อุดมพรตชินกูล พุทธบรมบพิธ ” ( พุทโธ ) แต่ชาวบ้านเรียกพระนามท่านว่า
 “ หลวงพ่อเกษร ”  เพราะผู้สร้างให้ช่างจำลองแบบพิมพ์ของหลวงพ่อเกษรวัดท่าพระ ต. ท่าพระ
. บางกอกใหญ่ จ. ธนบุรี จึงนิยมเรียกชื่อเดิมของท่าน พระพุทธปฏิมาองค์นี้ เป็นพระพุทธรูป ปางมารวิชัย ศิลปสุโขทัย หน้าตักกว้าง ๕๕ นิ้ว สูง ๗๒ นิ้ว ฐานทำเป็นรูปบัวคว่ำบัวหงาย ที่ฐานด้านหน้ามีจารึกเป็นอักษรขอมว่า พระพุทธศักราช ๒๔๕๙ หลวงโลกบาลได้จัดพิธีเททองหล่อขึ้น ณ วัดราชโอรสาราม โดยมีพระภาวนโกศล  ( เอี่ยม ) วัดหนัง ซึ่งชาวบ้านนิยมเรียกท่านว่า หลวงปู่เฒ่า เป็นประธานเททองหล่อพระพุทธรูปนี้ ต่อมาได้อัญเชิญพระพุทธรูปดังกล่าว นี้ลงเรือนำไปประดิษฐานเป็นพระพุทธปฏิมาประธานไว้ประจำอุโบสถวัดใหม่ตาเฉยบางบอนใต้ เมื่อเดือน พฤศจิกายน พ.. ๒๔๖๐
            อนึ่ง  วันที่ ๔ มิถุนายน พ.. ๒๔๖๐ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
 รัชการที่ ๖ ได้พระราชทานวิสุงคามสีมาให้แก่วัดบางบอนใต้ ดังมีประกาศไว้ดังนี้
            “ มีพระราชโองการ ประกาศไว้แก่ชนทั้งปวงว่า ที่เขตพระอุโบสถ วัดบางบอนใต้ ตำบลบางบอนใต้ ท้องที่อำเภอบางขุนเทียน จังหวัดธนบุรี โดยยาว ๒ เส้น ๑๐ วา กว้าง ๑ เส้น ๑๐ วา พระธรรมเทศาจารย์  เจ้าคณะแขวงล่าง จังหวัดธนบุรี ได้ให้กราบบังคมทูลพระกรุณาขอเป็นที่วิสุงคามสิมา พระเจ้าแผ่นดินสยามได้ทรงยินดีอนุโมทนาอนุญาตแล้วโปรดให้กระทรวงนครบาลปักกำหนดให้ตามประสงค์ ทรงพระราชอุทิศที่นั้นให้เป็นที่วิสุงคามสิมา ยกเป็นแผนกหนึ่งต่างหาก เป็นที่สำหรับพระสงฆ์ มาแต่จาตุทิศทั้งสี่ ทำสังฆกรรมมีอุโบสถกรรมเป็นต้น

พระราชทานตั้งแต่ ณ วันที่ ๔ มิถุนายน  รัตนโกสินทรศก ๑๓๖  พระพุทธศาสนายุกาล ๒๔๖๐ เปนวันที่ ๒๓๙๘ ในรัชกาลปัตยุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น